ร่วมแรงร่วมใจชาวตำบลไพศาลี " อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ เว้นระยะห่าง " ด้วยรักและห่วงใยพี่น้องประชาชนตำบลไพศาลี "

X ปิด
แจ้งเรื่องร้องเรียนสายผู้บริหาร

ภารกิจผู้บริหาร

ปลัด 093-139-2626



facebook

ปราบปรามทุจริต



ศูนย์ดำรงธรมม

ช่องทางการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ

ศาลปกครอง

wms

สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 1/10/2562
วันนี้
182
เมื่อวานนี้
228
เดือนนี้
3,905
เดือนที่แล้ว
3,842
ปีนี้
37,387
ปีที่แล้ว
36,082
ทั้งหมด
294,907
ไอพี ของคุณ
44.200.101.84
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

 

1. ข้อมูลพื้นฐาน


ประวัติความเป็นมา


          ตำบลไพศาลี เป็นตำบลหนึ่งของตำบลโคกเดื่อ ซึ่งได้แยกออกมาเป็นตำบลเมื่อ ปี พ.ศ. 2530 แบ่งออกเป็นหมู่บ้านโดยมี นายสุรเดช ยอดทอง เป็นกำนันคนแรก อยู่ห่างจากจังหวัดนครสวรรค์ ประมาณ 74 กิโลเมตร

 

        พื้นเพเดิมของชาวบ้านตำบลไพศาลี อพยพมาจากอำเภอท่าตะโก จังหวัดในภาคกลาง และ จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาษาที่ใช้ จะใช้ทั้งภาษาภาคกลางและภาษาอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ส่วนขนบธรรมเนียมประเพณีจะเหมือนกัน แต่จะมีเป็นบางส่วนที่มาจาก ภาคอีสานจะยังรักษาประเพณีดั้งเดิมไว้

 

          การตั้งถิ่นฐานของชาวบ้าน จะตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่ม ๆ ในการอพยพมาครั้งแรกเมื่อครั้งยังเป็นป่า ดงดิบ (เรียกว่าป่ายังไม่แตก) จึงไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้บุกเบิกและสร้างไพศาลีเป็นคนแรก

 

         เหตุการณ์ในอดีตที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนในหมู่บ้าน ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา ความเป็นอยู่ของชาวบ้านนั้นจะมีความเดือดร้อนเกี่ยวกับโจรผู้ร้ายเนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลความเจริญและเส้นทางคมนาคมไม่สะดวกต้องใช้เส้นทางเกวียนจึงเป็นการยากลำบากในการติดต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงไม่สามารถที่จะเข้าควบคุมดูแลได้ทั่วถึง

 

ผู้นำของตำบลไพศาลี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ


1.กลุ่มผู้นำที่เป็นทางการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

2.กลุ่มผู้นำที่ไม่ทางการ เช่น เจ้าอาวาส ผู้นำกลุ่มต่าง ๆ

    โดยทั่วไปประชาชนให้ความเคารพเชื่อฟังผู้นำทั้ง 2 กลุ่ม โดยภาพรวมแล้วประชาชนจะมีการตัดสินใจร่วมกัน ในลักษณะประชาคมหมู่บ้าน รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ยอมรับความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่

 

        องค์การบริหารส่วนตำบลไพศาลี ได้รับการประกาศจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 กำหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่น เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540


โดยมีผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล เรียงตามลำดับ ดังนี้


พ.ศ. 2540-2542 นายสุรเดช ยอดทอง
พ.ศ. 2542-2544 นายอุทิศ เขียววิจิตร
พ.ศ. 2544-2546 นายขจร พ่วงโพธิ์
พ.ศ. 2546-2548 นายประสิทธิ์ เนตรรักษ์
พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน นายประสิทธิ์ เนตรรักษ์
และผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไพศาลี เรียงตามลำดับ ดังนี้
พ.ศ. 2540-2541 นายโกสินทร์ พยัฆวิเชียร
พ.ศ. 2541-2544 นายขจร พ่วงโพธิ์
พ.ศ. 2544-2548 นายบำรุง สังกะสี
พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน นายบำรุง สังกะสี

 

ที่ตั้ง


         องค์การบริหารส่วนตำบลไพศาลีตั้งอยู่ห่างที่ว่าการอำเภอไพศาลีมาทิศตะวันออกเฉียงเหนือระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ของอำเภอไพศาลี 5 ตำบล ดังต่อไปนี้


ทิศเหนือ      ติดต่อกับ  ตำบลวังน้ำลัด และตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์
ทิศใต้         ติดต่อกับ  ตำบลสำโรงชัย และ ตำบลโคกเดื่อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ  ตำบลวังข่อย อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ ตำบลโคกเดื่อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์

 

นอกจากนี้ ตำบลไพศาลีมีเส้นทางคมนาคมใช้ติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้
1. เส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3004 จากจังหวัดนครสวรรค์ - อำเภอไพศาลี - ตำบล วังพิกุล จังหวัดเพชรบูรณ์
2. เส้นทางหลวงชนบท อำเภอไพศาลี – บ้านหนองไผ่ ตำบลสำโรงชัย ระยะทาง 7 กิโลเมตร
3. เส้นทางหลวงชนบท อำเภอไพศาลี – บ้านเนินทอง ระยะทาง 18 กิโลเมตร
4. เส้นทางหลวงชนบทบ้านเขาธรรมบท – ตำบลวังน้ำลัด
5. เส้นทางลาดยาง ตำบลไพศาลี – เขาปูน เชื่อมต่อตำบลวังข่อย

 

เนื้อที่


ตำบลไพศาลี มีพื้นที่ประมาณ 98.25 ตารางกิโลเมตร หรือ 63,289 ไร่

 

ภูมิประเทศ


       ภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก ลักษณะเป็นลูกคลื่นสูงจากระดับน้ำทะเล 150 – 1,780 เมตร ความลาดชัน 35% พื้นที่มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย, ดินเหนียวและดินลูกรัง โดยทั่วไปมีจำนวนหน่วยชุดิน จำนวน 9 ชุดดิน (ข้อมูล : ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลไพศาลี ) ได้แก่ กลุ่มดินชุดที่ 6 , 15 , 17 , 19 , 25 , 35 , 40/40B , 49/49B , 62 เหมาะกับการปลูกพืช เช่น ทำนา , ทำไร่ ส่วนที่เป็นที่สูงเหมาะกับการ เลี้ยงสัตว์ ปฏิกิริยาของดินมีความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-6.0

 

ภูมิอากาศ


         ลักษณะภูมิอากาศของตำบลไพศาลีจะพบว่า ฝนจะเริ่มตกในเดือนเมษายน – พฤษภาคม และจะเริ่มทิ้งช่วงประมาณปลายเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม และจะเริ่มตกหนักช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน อุณภูมิต่ำสุดในช่วงเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน แบ่งเป็น 3 ฤดูกาล ได้แก่

ฤดูร้อน   เริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ จนถึงประมาณกลางเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน    เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคม จนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์

 

จำนวนหมู่บ้าน


จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพศาลี มี 7 หมู่บ้าน ดังนี้
1) หมู่ที่ 1 บ้านห้วยน้ำลาด
2) หมู่ที่ 2 บ้านห้วยน้ำลาดเหนือ
3) หมู่ที่ 3 บ้านเนินทอง
4) หมู่ที่ 4 บ้านเขาธรรมบท
5) หมู่ที่ 6 บ้านโคกเดื่อ
6) หมู่ที่ 7 บ้านโคกสามัคคี
7) หมู่ที่ 8 บ้านใหม่วารีเย็น
- จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพศาลี เต็มทั้งหมู่บ้าน มี 3 หมู่ ได้แก่ หมู่ที่ 3 , หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 7
- จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพศาลี เต็มบางส่วนมี 4 หมู่ ได้แก่ หมู่ที่ 1 , หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 8
- จำนวนหมู่บ้านที่อยู่นอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพศาลี มี 1 หมู่ ได้แก่หมู่ที่ 5 (อยู่ในเขตเทศบาลเต็มพื้นที่)

 

 

2. ข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


2.1 ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพศาลี

หมู่บ้าน

จำนวน/ครัวเรือน

เพศชาย/คน

เพศหญิง/คน

รวม/คน

หมู่ที่ 1 บ้านห้วยน้ำลาด

106

160

139

299

หมู่ที่ 2 บ้านห้วยน้ำลาดเหนือ

86

186

187

373

หมู่ที่ 3 บ้านเนินทอง

243

446

409

855

หมู่ที่ 4 บ้านเขาธรรมบท

282

393

388

781

หมู่ที่ 6 บ้านโคกเดื่อ

119

196

181

377

หมู่ที่ 7 บ้านโคกสามัคคี

261

429

434

863

หมู่ที่ 8 บ้านใหม่วารีเย็น

224

431

385

818

รวม

1,321

2,241

2,123

4,364

 

จำนวนประชาชนของการบริหารส่วนตำบลไพศาลี ทั้งสิ้น 4,364 คน* ดังนี้
* ความหนาแน่นเฉลี่ย 44.41 คนต่อตารางกิโลเมตร
ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2549

 

จำแนกตามช่วงอายุและเพศ

ช่วงอายุ

เพศชาย

เพศหญิง

รวม

อายุต่ำกว่า 6 ปี

168

155

323

อายุระหว่าง 6-12 ปี

293

250

543

อายุระหว่าง 13-17 ปี

184

165

349

อายุระหว่าง 18-54 ปี

1,368

1,216

2,584

อายุระหว่าง 55-59 ปี

94

100

194

อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

164

207

371

รวม

2,271

2,093

4,364

 

3. สภาพทางสังคม


3.1 การศึกษา


3.1.1 โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 2 แห่ง
- โรงเรียนบ้านโคกสามัคคี หมู่ที่ 7 1 แห่ง
- โรงเรียนบ้านเขาธรรมบท หมู่ที่ 4 1 แห่ง (ซึ่งมีขยายโอกาสมัธยมศึกษา 1 – 3 )

 

3.1.2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาธรรมบท 1 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกสามัคคี 1 แห่ง

 

3.1.3 ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 7 แห่ง
- อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 1 แห่ง
- อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 2 1 แห่ง
- อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3 1 แห่ง
- อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 1 แห่ง
- อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 6 1 แห่ง
- อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 7 1 แห่ง
- อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 8 1 แห่ง

 

3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา


3.2.1 วัด (อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3 วัดเนินทอง) 1 แห่ง


3.2.2 สำนักสงฆ์ 5 แห่ง แยกออกเป็น


- สำนักสงฆ์ อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 จำนวน 2 แห่ง
- สำนักสงฆ์ อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 7 จำนวน 2 แห่ง
- สำนักสงฆ์ อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 8 จำนวน 1 แห่ง

 

3.3 สาธารณสุข


3.3.1 สถานีอนามัยประจำตำบล / หมู่บ้าน อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3 1 แห่ง

 

3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน


3.4.1 ป้อมตำรวจ อยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 4 บ้านเขาธรรมบท 1 แห่ง

 

4. ข้อมูลอื่นๆ


4.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่


4.1.1 หินแกรนิต 1,200 ไร่
4.1.2 ป่าไม้ธรรมชาติ มีพื้นที่ป่าไม้ 2,196 ไร

4.2 มวลชนจัดตั้ง


1. ลูกเสือชาวบ้าน 1 รุ่น จำนวน 100 คน
2. อปพร. 1 รุ่น จำนวน 50 คน
3. กลุ่มเกษตรกรประจำตำบล 8 กลุ่ม จำนวน 607 คน
4. กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 7 กลุ่ม จำนวน 110 คน 5. หมู่บ้าน อพป. 1 กลุ่ม จำนวน 138 คน
6. กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ป่า 1 กลุ่ม จำนวน 70 คน
7. กลุ่มสตรีอาสาพัฒนา 1 กลุ่ม จำนวน 120 คน
8. กลุ่มสงเคราะห์ราษฎรหมู่บ้าน 1 กลุ่ม จำนวน 80 คน
9. กลุ่มอาสาสมัครป้องกันไฟป่า 1 กลุ่ม จำนวน 30 คน
10. องค์กรสตรี จำนวน 120 คน
11. ชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 35 คน
12. ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน จำนวน 90 คน
13. กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลไพศาลี จำนวน 179 คน